วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หน้าแรก


ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซค์ค่ะ


หากพร้อมแล้วสามารถเข้าชมเว็บของพวกเราได้เลยน่ะค่ะ


วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การคมนาคม



     สำหรับนครนิวยอร์ก การคมนาคมทางรถไฟใต้ดิน และรถประจำทางให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งสะดวกประหยัดและรวดเร็ว โดยสามารถหาซื้อบัตรโดยสาร (ใช้บริการได้ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดิน และรถประจำทาง) ได้ที่สถานีรถไฟใต้ดินทุกแห่ง (มีทั้งซื้อได้ด้วยเงินสดจากเคาเตอร์ หรือใช้บัตรเครดิตที่เครื่องขายบัตรอัตโนมัติ) สามารถขอแผนที่รถไฟฯ ได้ที่เจ้าหน้าที่ฯในสถานีฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด 

     หรืออาจหาซื้อได้ตามร้านขายของชำที่มีตรา MTA ( Metropolitan Tranportation Authority) ในราคา 2.00 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเที่ยว หากซื้อ ตั๋ววันก็ใช้ได้ไม่จำกัดเที่ยวใน 1 วัน และหากพำนักมากกว่า1 สัปดาห์ ก็ขอให้ซื้อบัตรโดยสารประเภท"ขึ้นไม่จำกัดเที่ยว" แต่จำกัดภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์เท่านั้น ในราคา 24 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีรถแท็กซี่มิเตอร์ (สีเหลือง) วิ่งรับ-ส่ง ผู้โดยสารตลอด 24 ชั่วโมง เช่นกัน แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในชั่วโมงเร่งด่วน เพราะต้องใช้เวลารอนานมาก 

     สำหรับผู้ที่จะใช้บริการรถเช่าในนครนิวยอร์ก ทางการนิวยอร์กจะไม่อนุญาตให้ใช้ใบขับขี่รถยนต์ระหว่างประเทศ และจะอนุญาตเฉพาะใบขับขี่ที่ออกโดยรัฐนิวยอร์กเท่านั้น อย่างไรก็ดี สถานที่สำหรับจอดรถชั่วคราวมีน้อย และคิดค่าบริการจอดรถมีราคาสูงมาก 

     สำหรับผู้สัญจรทั่วไปในนครนิวยอร์ก ควรศึกษาระบบถนน และเส้นทางในแผนที่ก่อนออกเดินทาง สามารถขอแผนที่จากเคาเตอร์โรงแรมทั่วไป โดยมีหลักสังเกต ดังนี้ 

     ถนนที่ตั้งอยู่ตามแนวขนานกับเกาะแมนฮัตตัน - เรียกว่า Avenue เริ่มตั้งแต่ฝั่งตะวันออก ได้แก่ York, 1st, 2nd, 3rd, Lexington, Park, Madison, 5th, 6th,( Avenue of America), 7th(Fashion), 8th, 9th, 10th,11th 12th ถนนที่ตัดขวางกับเกาะแมนฮัตตันจะเรียกว่า Street ซึ่งจะเริ่มจากทางใต้ของเกาะขึ้นไปทางเหนือของเกาะ โดยเรียงตัวเลขจากน้อยไปหามาก และถนนส่วนใหญ่จะใช้ระบบเดินรถทางเดียว สำหรับการแบ่งเขตบนเกาะแมนฮัตตันจะใช้ถนน 5th Avenue เป็นหลักในการแบ่งเขตตะวันออกและตะวันตก 






ข้อควรปฏิบัติ



     1. ห้ามนำอาหารสด เนื้อสัตว์ (ยกเว้นอาหารทะเล) ผักสด ผลไม้ และนมสดเข้าสหรัฐฯ โดยเด็ดขาด

     2. เนื่องจากความเข้มงวดด้านการรักษาความปลอดภัย ทางการสหรัฐฯ มีสิทธิ์ที่จะยึดเก็บหรือทำลายสัมภาระใดๆ ทันทีหากเจ้าของทิ้งสัมภาระใดๆ ในที่สาธารณะโดยไม่มีผู้ดูแล โดยเฉพาะในสนามบิน และสถานีรถไฟใต้ดิน โรงแรม และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ

     3. ควรจะพกบัตรเครดิตติดตัวเพื่อความปลอดภัยและไม่ประมาท สำหรับเงินสดไม่ควรพกติดตัวเป็นจำนวนมาก

     4. ควรเตรียมเสื้อผ้าสำรองติดตัวไว้ในกรณีที่ออกเดินทางสัญจร โดยเฉพาะในฤดูหนาว เนื่องจากลมแรงและอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

     5. การคืน/ แลกเปลี่ยนสินค้า : เมื่อซื้อสินค้าใดๆ จากห้างร้านทุกแห่งควรเก็บใบเสร็จเอาไว้ทุกฉบับ เนื่องจากประเทศสหรัฐฯ มีนโยบายในการให้สิทธิในการคืน/ เปลี่ยน สินค้าได้ (ส่วนใหญ่ภายในระยะเวลา 1 เดือน) แต่มีเงื่อนไขว่า สภาพจะต้องเหมือนเดิม พร้อมแสดงใบเสร็จเป็นหลักฐานในการคืนสินค้า กรณีขอเปลี่ยนสินค้าจะต้องทำเรื่องคืนสินค้าเดิมก่อน แล้วจึงซื้อสินค้าตัวใหม่ได้ ที่สำคัญ หากซื้อด้วยบัตรเครดิต ผู้ขายจะเรียกใช้บัตรเครดิตเดิมสำหรับกระบวนการคืนหรือแลกเปลี่ยนสินค้า

     6. อย่าทิ้งกระเป๋าถือหรือใส่ของมีค่าไว้ในกระเป๋า เพราะอาจถูกขโมยไปได้ทุกเวลา

     7. ควรจะมี Credit card มาก่อนอย่างน้อย 1 ใบ เพราะจะทำให้สะดวกในการขอ Credit card ที่สหรัฐฯ ซึ่งจำเป็นอย่างมากในชีวิตประจำวัน

     8. ระมัดระวังกระเป๋าและของมีค่าในขณะที่อยู่ในฝูงชน โดยเฉพาะในขณะขึ้นรถประจำทาง รถไฟใต้ดิน หรือขณะรอเข้าแถวซื้อของ

     9. อย่าเก็บกระเป๋าสตางค์ไว้ที่กระเป๋ากางเกงด้านหลัง

     10. ถ้าถูกล้วงกระเป๋าไม่ต้องกลัวที่จะร้องขอความช่วยเหลือ

     11. อย่าทิ้งของมีค่าไว้ในรถยนต์แต่ให้เก็บไว้ในที่เก็บของท้ายรถ

     12. อย่าทิ้งใบอนุญาตขับรถ หรือใบจดทะเบียนรถไว้ในรถยนต์

     13. ในกรณีเกิดเหตุร้าย ติดต่อตำรวจได้ที่หมายเลข 911

     14. เพิ่มกุญแจล็อกประตูบ้านหรือติดสัญญาณกันขโมยบริเวณประตูหรือหน้าต่าง หรือติดเหล็กดัดหน้าต่าง กรณีที่พักอยู่ชั้นล่าง

     15. สำหรับเด็กเล็กที่จะเข้าโรงเรียน ต้องนำสมุดคู่มือฉีดวัคซีนพร้อมคำแปลภาษาอังกฤษ และใบรับรองแพทย์ภาษาอังกฤษมาด้วย 

     หน่วยราชการไทย สถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ เมืองบอสตัน โทรศัพท์ (617) 720-THAI โทรสาร (617) 227-2306 

     สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 482-0077 โทรสาร (212) 482-1177 

     สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจ (ด้านการลงทุน) ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 422-9009 โทรสาร (212) 422-9119 

     สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 482-0433 โทรสาร (212) 269-2588 

     บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ณ นครนิวยอร์ก โทรศัพท์ (212) 944-THAI โทรสาร (212) 286-0082 

     หากท่านจะอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นระยะเวลานาน โปรดแจ้งชื่อ และที่อยู่ ต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ/สถานกงสุลฯ เพื่อประโยชน์ในการติดต่อ หรือให้ความช่วยเหลือในกรณีจำเป็น 

    กงสุลใหญ่ ณ นครนิวยอร์ก เลขที่ 351 East 52nd street (ระหว่าง 1st Avenue และ 2nd Avenue), New York, NY 10022 

     โทรศัพท์ (212) 754-1770 โทรสาร (212) 754-1907

     วันทำการ จันทร์-ศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์-อาทิตย์ 

     เวลาทำการ 09.00-12.30น.และ13.30-16.30 น.โดยมีเจ้าหน้าที่ให้บริการในด้านกงสุลและนิติกรณ์ 

     รวมทั้งดูแลและรักษาผลประโยชน์ของคนไทยที่อาศัยอยู่ในมลรัฐ เขตอาณาที่รับผิดชอบ ได้แก่ New York, New Jersey, New Hampshire, Vermont, Maine, Rhode Island, Ohio, Pennsylvania, Massachusetts และ Connecticut 

     กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2575 1046-51 โทรสาร 0 2575 1052 

เขตการปกครอง


เขตการปกครอง
นิวยอร์กประกอบด้วย 5 โบโรฮ์ (Borough) โดยในแต่ละโบโรฮ์ก็จะและแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีกหลายเขตชุมชนย่อย (Neighborhoods) โดยที่โบโรฮ์จะขึ้นอยู่กับเทศมณฑล หรือ เคาน์ตี้ (County) โดยเป็นเขตการปกครองของรัฐนิวยอร์ก ศูนย์กลางของมหานครนิวยอร์กคือ แมนแฮตตัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญของทั้งเมือง และถูกล้อมรอบด้วยโบโรฮ์อื่น
·         -                เดอะบรองซ์ (เคาน์ตี้ บรองซ์ : ประชากร 1,363,198 คน) โบโรฮ์ที่อยู่ทางตอนเหนือสุดของมหานครนิวยอร์ก เป็นที่ตั้งของสนามแยงกี้ สเตเดียม ถิ่นของทีมเบสบอล นิวยอร์ก แยงกี้ ขณะที่สวนสัตว์ในเขตเมืองที่ใหญที่สุดให้สหรัฐอเมริกา อย่าง สวนสัตว์บรองซ์ ก็อยู่ในโบโรฮ์นี้ เดอะบรองซ์ เป็นส่วนเดียวของมหานครนิวยอร์กที่ไม่ได้เป็นเกาะ (เป็นส่วนที่อยู่ติดกับแผ่นดินสหรัฐอเมริกา) และที่นี้ก็ยังเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมดนตรี แร็พ และฮิปฮอป ด้วย
·                             บรูคลิน (เคาน์ตี้ คิงส์ : ประชากร 2,528,050 คน) เป็นโบโรห์ที่มีประชากรมากที่สุด มีทั้งเขตเขตธุรกิจและเขตที่อยู่อาศัย (นอกจากแมนแฮตตันแล้ว บรูคลินเป็นโบโรห์เดียวที่มีการแบ่งย่านดาวน์ทาวน์ที่ชัดเจน และเป็นเขตธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเมืองนิวยอร์ก) ในอดีตบรูคลินมีสถานะเป็นเมืองอิสระไม่ขึ้นอยู่กับการดูแลของเมืองใด จนกระทั่ง ค.ศ. 1898 ได้ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมหานครนิวยอร์ก บรูคลินเป็นที่รู้จักทางด้านความหลายหลายทางด้านผู้คน สังคม วัฒนธรรม รวมถึงเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับศิลปะ และเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมยุคเก่าที่ตกทอดมาแต่อดีต โบโรห์นี้ยังมีสถานที่ที่โดดเด่น คือ ชายหาดที่ทอดตัวเป็นแนวยาว และโคนีย์ ไอส์แลนด์ (Coney Island) ที่สร้างขึ้นในค.ศ. 1870 เป็นหนึ่งในสถานที่พักผ่อนที่น่าสนใจของประเทศนี้
·                           แมนแฮตตัน มีลักษณะเป็นเกาะ ตั้งอยู่ในเคาน์ตีนิวยอร์ก มีประชากร 1,564,798 คน เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกด้าน มีตึกระฟ้าจำนวนมาก เซ็นทรัลพาร์ก พิพิธภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวตั้งอยู่ แมนแฮตตันเป็นบริเวณที่มีประชากรหนาแน่นที่สุด และค่าครองชีพสูงสุดในสหรัฐอเมริกา ในแมนแฮตตันจะมีแบ่งย่อยออกเป็นเขตชุมชนย่อยอีกหลายเขต เช่น ดาวน์ทาวน์ มิดทาวน์ อัพทาวน์ เฮลคิทเชน โซโห ฮาเล็ม ไชน่าทาวน์ ลิตเติลอิตาลี ไทบีกา เชลซี
·         ควีนส์ ตั้งอยู่ในเคาน์ตีควีนมีประชากร 2,225,486 คน เป็นเขตที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่มากที่สุดในบรรดา 5 เขต
·                         สแตตัน ไอส์แลนด์ ตั้งอยู่ในเคาน์ตีริชมอนด์ มีประชากร 459,737 คน เป็นเกาะที่อยู่แยกออกไปแตกต่างจากเขตอื่น


สถานที่ท่องเที่ยงในนิวยอร์ค

       
            นครนิวยอร์ก (New York) มหานครที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางของความศิวิไลซ์ หากใครมีโอกาสได้เดินทางไปเยือน คุณจะต้องประทับใจไม่รู้ลืมอย่างแน่นอน โดยเฉพาะกับสถานที่ท่องเที่ยวเก๋ ๆ แจ่ม ๆ จำนวนมาก ที่ไม่ควรพลาดไปสัมผัสด้วยตัวเอง วันนี้พวกเรามีสถานทีท่องเที่ยวมากมายมานำเสนอกันค่ะ

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย Andrey Bayda / Shutterstock.com

 1. บรอดเวย์ (Broadway)

          ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บรอดเวย์ เป็นหนึ่งในไฮไลท์สำคัญที่ไม่ควรพลาดหากมานิวยอร์ก สถานที่ที่มีชื่อเสียงในด้านของโรงละครต่าง ๆ มากมายมารวมกันอยู่ที่นี่ และนี่ก็เป็นที่มาของชื่อ ถนนบรอดเวย์ หากคุณตั้งใจที่จะมาดูการแสดงละครเวทีหรือศิลปะการแสดงต่าง ๆ และไม่ต้องการพลาดที่นั่งแถวหน้า มุมดี ๆ บอกได้เลย[ว่า ต้องจองที่ล่วงหน้าไว้ก่อนนะ ไม่งั้นพลาดแน่นอน หรือหากคุณพลาดจริง ๆ ก็ไม่ต้องกังวลใจ ที่บรอดเวย์ยังมีอะไรให้คุณทำอีกเยอะ เช่น ออกไปโปรยเงินเล่นช้อปปิ้งที่ ฟิฟท์ อเวนิว (5th Avenue) พร้อมชมความงามของ โบสถ์ทรินิตี้ อันเลื่องชื่อ และแน่นอนที่สุด ไม่ควรพลาดที่จะมุ่งไปที่ ไทม์ สแควร์ สถานที่ ๆ คุณจะได้สัมผัสกับบรรยากาศความเป็นนิวยอร์กอย่างแท้จริง

นิวยอร์ก

 2. อนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty)

          เมื่อเอ่ยถึงสตรียืนสูงเด่นเป็นสง่า ที่เป็นสัญลักษณ์ของ "เสรีภาพ" ของชาวมะกันนั้น คงต้องหมายถึง "เทพีเสรีภาพ" อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นอนุสาวรีย์ที่ทางฝรั่งเศสมอบให้กับชาวอเมริกัน เพื่อเป็นของขวัญฉลองครบรอบ 100 ปี ในวันประกาศอิสรภาพจากประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 โดยตัวเทพีมีความสูงถึง 96 เมตร ใช้ชิ้นส่วนมาประกอบตัวเทพีจำนวน 350 ชิ้น ซึ่งใช้ระยะเวลาในการประกอบถึง 4 เดือน สร้างโดย บาร์โธลดี หากไม่ได้มาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกับสตรีแห่งเสรีภาพแห่งนี้ ถือว่าคุณพลาด 1 ในมหัศจรรย์สิ่งก่อสร้างของโลกชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

นิวยอร์ก

 3. สวนสาธารณะ เซ็นทรัล พาร์ค (Central Park)

          หากต้องการหลบจากความวุ่นวายในเมืองใหญ่อย่างมหานครนิวยอร์ก สวนสาธารณะ เซ็นทรัล พาร์ค คงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่น่าสนใจสำหรับคนเมืองใหญ่เช่นนี้ เซ็นทรัล พาร์ค สร้างเสร็จเมื่อปี 1873 มีขนาดอยู่ที่ 341 เฮกตาร์ (3.4 ตารางกิโลเมตร หรือสนามฟุตบอล 460 สนามต่อกัน) โดยผู้คนที่เดินทางมาที่นี้ ไม่ใช่มาเพื่อเดินหรือวิ่งออกกำลังเท่านั้น ภายในสวนสาธารณะแห่งนี้ ยังมีสวนสัตว์ รูปปั้น ร้านอาหาร เรือถีบ ม้าหมุน ลานสเก็ต นั่งปิคนิค และลานน้ำพุ ที่สำคัญที่ เซ็นทรัล พาร์ค ยังเป็นสถานที่ยอดนิยมที่กองภาพยนต์ มักเลือกใช้มาเป็นส่วนหนึ่งในฉากประกอบซะด้วย 

นิวยอร์ก

 4. หมู่บ้านกรีนวิช (Greenwich Village)

          หมู่บ้านกรีนวิช เป็นที่รู้จักดีว่าเป็นเขตที่อยู่อาศัยของชุมชนในแมนฮัตตัน แต่ครั้งหนึ่งนั้นเคยเป็นเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญ และตกเป็นเมืองขึ้นของชาวโบฮีเมี่ยน บีทนิกส์ และเคยถูกทิ้งให้เป็นเมืองร้างมาก่อน แต่หมู่บ้านกรีนวิชยังคงความมีเสน่ห์ในตัวที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาที่หมู่บ้านแห่งนี้ ปัจจุบันได้กลายเป็นชุมชนศิลปะอันสดใส และอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยนิวยอร์กอันโด่งดัง พร้อมอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมตอนกลางคืนอันสว่างไสวไปกับแสงไฟบนถนนแม็คโดกัล

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย Cedric Weber / Shutterstock.com

 5. ตึกเอ็มไพร์ สเตท (Empire State)

          ตึกเอ็มไพร์ สเตท เป็นตึกที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดเหนือ ตึกไครซ์เลอร์ และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของนครนิวยอร์ก ตึกระฟ้าแห่งนี้มีความสูงถึง 102 ชั้น มีสไตลล์การตกแต่งแบบศิลปะสไตลล์ เด็คโค่ และเป็นอาคารที่ได้รับความนิยมถูกใช้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนต์หลายเรื่อง เช่น ภาพยนต์ชื่อดังอย่าง "คิงคอง" ที่มีเจ้าลิงยักษ์ปีนขึ้นไปบนยอดตึก ตึกเอ็มไพร์ สเตท หากคุณไม่กลัวความสูง และต้องการเห็นมุมมองอันน่าอัศจรรย์ของเมืองนิวยอร์ก ที่สามารถมองเห็นรอบ ๆ เมืองได้ไกลถึง 80 ไมลล์ ต้องไม่พลาดในการขึ้นไปพิชิตยอดตึกแห่งนี้เหมือนเจ้าคิงคอง

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย SeanPavonePhoto / Shutterstock.com

 6. พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เมโทรโพลิทัน (Metropolitan Museum of Art)

          หากคุณเป็นคนหนึ่งที่หิวโหยและคลั่งไคล้ในงานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เมโทรโพลิทัน เป็นสถานที่รวบรวมจัดแสดงผลงานชั้นยอดต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของเหล่าศิลปินมากมายไว้ที่นี้ เช่น เซซานและโมเนต์ ปิกัสโซ่ แคนดินสกี้ เดอะ โมมา เป็นต้น และพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมแห่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว ดังนั้น หากคุณได้มาชื่นชมผลงานอันเลื่องชื่อของศิลปินที่นี้ คุณอาจจะได้รับแรงบันดาลใจดี ๆ เพื่อนำไปสร้างสรรค์ผลงานของคุณเองได้อีกด้วย

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย Vladimir Korostyshevskiy / Shutterstock.com

 7. เกาะโคนี่ย์ (Coney Island)

          หากกำลังมองหาสถานที่พักผ่อนริมทะเล กับหาดทรายขาวนวลและแสงแดดอ่อน ๆ เราขอแนะนำให้ลองมาที่ เกาะโคนี่ย์ บ้านพักตากอากาศที่ได้รับความนิยมมาก ซึ่งตั้งอยู่บริเวณทางตอนใต้ของเมืองบรู๊คลิน และริมทางเดินชายหาดของนิวยอร์ก นอกจากชายหาดแล้วยังมีสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่าง พิพิธภัณฑ์สัตวน้ำนิวยอร์ก สวนสนุกที่มีเครื่องเล่นหลากหลาย และต้องไม่พลาดเลยกับ ฮ็อทด็อกซ์ เจ้าดังอย่าง "เนธาน ฮ็อทด็อกซ์" ที่เมื่อมาถึงทีนี้แล้วต้องมาลิ้มรสกันให้ได้

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย Andrew F. Kazmierski / Shutterstock.com

 8. ร็อคกี้เฟลเลอร์ เซ็นเตอร์ (Rockefeller Center)

          เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีศูนย์การค้าส่วนตัวของตัวเอง ประกอบไปด้วยตึก 19 ตึก ที่มีความสวยงามน่าประทับใจ โดยเริ่มต้นการทำโครงการทางธุรกิจแบบผสมผสาน มีทั้งสวน ร้านอาหารและแหล่งช้อปปิ้ง ด้วยพื้นที่สำนักงาน ซึ่งทั้งหมดถูกตกแต่งอย่างสวยงาม ด้วยศิลปะสไตลล์เด็คโค่ ปัจจุบันที่ศูนย์แห่งนี้เป็นสถานที่จัดงานทางด้านวัฒนธรรมและบันเทิงกลางเมืองนิวยอร์ก ซึ่งจัดงานคอนเสิร์ตและนิทรรศการต่าง ๆ 

          แล้วที่ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง คือ ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส จะมีการนำต้นคริสต์มาสขนาดใหญ่มาจัดแสดงไว้ และในยามค่ำคืน ณ ลานสเก็ตที่ศูนย์แห่งนี้ จะแปรเปลี่ยนเป็นลานสเก็ตที่ส่องแสงประกาย สะท้อนแสงไฟระยิบระยับราวกับเพชร ซึ่งเป็นภาพที่สวยสดงดงามในยามค่ำคืน

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย SeanPavonePhoto / Shutterstock.com

 9. ศูนย์แสดงศิลปะ ลินห์นคอน เซ็นเตอร์ (Lincoln Center for the Performing Arts)

          ศูนย์แสดงศิลปะ ลินห์นคอน เซ็นเตอร์ เป็นศูนย์ศิลปะที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเป็นบ้านของสถาบันศิลปะนิวยอร์กทั้ง 12 แห่ง อาทิ โรงละครโอเปร่า เมโทรโพลิแทน โรงแสดงบัลเล่ต์นิวยอร์ก ที่จัดแสดงคณะประสานเสียง โรงหนังลินห์นคอน เซ็นเตอร์ เป็นต้น และเป็นที่แน่นอนเลยว่าผู้หลงใหลศิลปะทั้งหลาย จะได้รับประสบการณ์อันยอดเยี่ยมกับผลงานอันตระการตาต่าง ๆ จากเหล่านักแสดงและเป็นแรงใจให้กับศิลปินหน้าใหม่มามากกว่า 50 ปี

นิวยอร์ก

ภาพประกอบโดย Pierre E. Debbas / Shutterstock.com

 10. สนามแยงกี้ (Yankee Stadium)

          สุดยอดสนามเบสบอลทีมเหย้าอันน่าภาคภูมิใจของชาวนิวยอร์กแยงกี้ ที่ได้ชื่อว่ามีมูลค่าการก่อสร้างของสนามแพงถึง 1.5 ล้านเหรียญ กับความจุของสนามอันมหาศาลมากกว่า 52,000 ที่นั่ง พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย โดยเคยตั้งอยู่ที่ย่าน บรองซ์ ก่อนที่จะย้ายมาสร้างใหม่ที่ เลขที่ 25 ถนนหลักใน คูเปอร์สทาวน์ เมืองนิวยอร์ก ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนเบสบอลหรือไม่ เราขอแนะนำให้คุณลองเข้าไปสัมผัสกับบรรยากาศอันกึกก้อง ของสาวกทีมนิวยอร์กแยงกี้ ซึ่งจะปลุกอารมณ์คุณให้ลุกขึ้นมาร่วมเชียร์ทีมโปรดไปด้วยกัน

          เป็นยังไงกันบ้าง สำหรับ 10 สถานที่ควรมาของนครนิวยอร์กที่เราแนะนำให้ดูกันแบบเบา ๆ มันน่าสนใจมากทั้งหมดเลยใช่ไหมล่ะ มีหลายแบบหลายสไตล์แล้วแต่รสนิยมความชอบของแต่ละคน แต่จะให้ดีหากมีโอกาสได้ไปเยือน ลองไปดูทั้ง 10 แห่งเลยนะคะ 

ประวัตินครนิวยอร์ก


ประวัตินครนิวยอร์ก
 New York City
 
                       
 นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี้ (New York City - NYC) เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ อีกด้วย

นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม. (305 ตร.ไมล์) นอกจากจะเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดแล้ว สัดส่วนพื้นที่ต่อประชากรยังถือว่าหนาแน่นที่สุดในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ลักษณะเฉพาะของนิวยอร์กที่แตกต่างไปจากเมืองแห่งอื่นของสหรัฐอเมริกา มีให้เห็นหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ระบบขนส่งที่มีโครงข่ายขนาดใหญ่ ความเหมือนและความแตกต่างกันของประชากร ในปี 2005 มีภาษาประมาณ 170 ภาษาที่ใช้กันในเมืองแห่งนี้ และ 36% ของประชากรไม่ได้เกิดและโตในสหรัฐอเมริกา[7][8] ระบบรถไฟใต้ดินนครนิวยอร์กที่ ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง บวกกับการจราจรและผู้คนที่พลุกพล่านอยู่ตลอดเวลา จึงมีคำเปรียบเปรยถึงนิวยอร์กว่าเป็น “เมืองที่ไม่เคยหลับใหล” ขณะเดียวกันเมืองแห่งนี้ยังมีชื่อเล่นอื่นๆ อีกด้วยอย่าง “กอร์ทเทม” (Gotham) และ “บิ๊กแอปเปิล” (Big Apple)

ชาวดัชต์ถือเป็นผู้คนกลุ่มแรกที่เข้ามาเริ่มปักหลักทำการค้าในปี 1624 ซึ่งนั้นได้ทำให้เมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ปี 1785 จนกระทั่งปี 1790[11] และเคยเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 1790 เทพีเสรีภาพ (Statue of Liberty) ได้ให้การตอนรับผู้มาเยือนหลายล้านคน ที่เดินทางมายังสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งต้นศตวรรษที่ 20 วอลล์สตรีท (Wall Street) ที่ตั้งอยู่ในแมนแฮตตันตอนใต้ ก็ถือเป็นศูนย์กลางที่มีอิทธิพลต่อระบบการเงินของโลกมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE: New York Stock Exchange) ในปัจจุบัน นิวยอร์กมีสถานที่แห่งสำคัญที่มีชื่อเสียงและเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่งของโลก อีกมากมาย รวมทั้งตึกที่เคยสูงที่สุดในโลกอย่างตึกเอ็มไพร์สเตต (Empire State Building) อีกด้วย

นิวยอร์กยังเป็นบ้านเกิดของวัฒนธรรมที่หลากหลายๆ ไม่ว่าจะเป็นงานวรรณกรรมและทัศนศิลป์ที่เรียกว่า ฮาเล็ม เรอเนสซองค์ (Harlem Renaissance) งานภาพเขียนที่เรียกว่าศิลปะกึ่งนามธรรม (Abstract Expressionism) หรือที่รู้จักกันว่า “นิวยอร์กสคูล” วัฒนธรรมทางดนตรีอย่าง ฮิปฮอป[12] พังค์[13] ซัลซ่า และดิสโก้ รวมทั้งยังเป็นบ้านเกิดของละครบรอดเวย์อีกด้วย


เดิมทีของนิวยอร์กเป็นที่อยู่ของชนอเมริกันพื้นเมืองที่เรียกว่า “เลนาเป” (Lenape) ขณะนั้นมีประชากรประมาณ 5,000 คน ซึ่งอาศัยดินแดนแห่งนี้อยู่นานนับพันปี ก่อนที่จิโอวานี เดอ เวเรซาโน่ (Giovanni da Verrazzano) นักเดินเรือชาวอิตาเลียนจะค้นพบนิวยอร์กในปี 1524[14] โดยได้รับคำบัญชาจากราชวงศ์ฝรั่งเศส และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “Nouvelle Angoulême” (New Angoulême ในภาษาอังกฤษ)

ปี ค.ศ. 1614 ชาวยุโรปได้เข้ามาตั้งรกรากอย่างจริงจัง โดยเริ่มก่อตั้งชุมชนค้าผ้าขนสัตว์ของชาวดัตช์ และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "นิว นีเดอร์แลนด์" (“Nieuw Nederland” ในภาษาดัตช์) เรียกท่าเรือและ เมืองในตอนใต้ของเกาะแมนแฮตตันว่า “นิวอัมสเตอร์ดัม” (Nieuw Amsterdam ในภาษาดัตซ์) มี Peter Minuit เป็นผู้ปกครองอาณานิคมนี้ ซึ่งต่อมาเขาได้ซื้อเกาะแมนแฮตตันทั้งหมดจากชนพื้นเมือง ในปี ค.ศ. 1626 มูลค่าทั้งหมด 60 กิลเดอร์ (Guilders) หรือประมาณ $1,000 ในปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2006)[16] แต่ต่อมามีข้อพิสูจน์ว่าไม่จริง กล่าวคือ เกาะแมนฮัตตันถูกซื้อไปด้วยลูกปัดที่ทำจากแก้วในราคา $24 ก่อนที่อังกฤษจะเข้ายึดครองเป็นอาณานิคมของตนในปี ค.ศ. 1664 และเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า “นิวยอร์ก” เพื่อเกียรติให้กับ "ดยุคแห่งยอร์คและอัลแบนี" (English Duke of York and Albany) ขณะนั้นคือสมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ[18] ในช่วงปลายสงครามแองโกล-ดัตช์ครั้งที่ 2 ชาวเนเธอร์แลนด์ได้ยึดครองเกาะรัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่มีค่ามากในขณะนั้น แลกกับการให้อังกฤษยึดครองนิวอัมสเตอร์ดัม หรือนิวยอร์กในดินแดนอเมริกาเหนือ ส่งผลให้ต่อมาในปี ค.ศ. 1700 ประชากรชาวเลนาเปลดลงเหลือเพียง 200 คน
ภายใต้กฎระเบียบของอังกฤษ นิวยอร์กได้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วกลายเป็นเมืองท่าขนาดใหญ่ที่สำคัญอย่างยิ่ง ในปี ค.ศ. 1754 มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ที่ได้รับสิทธิจากสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยคิงส์คอลเลจ (King's College) ที่แมนแฮตตันตอนใต้ ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติอเมริกา (American Revolution War) เนื่องจากอาณานิคมทั้งสิบสามที่อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษต้องการแยกตัวออกเป็นอิสระ และได้ทำการประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 นำโดยจอร์จ วอชิงตัน ผู้บัญชาการกองทัพภาคพื้นทวีปของฝ่ายอาณานิคม (Continental Army) มีการรบกับกองทัพอังกฤษทางตอนเหนือของแมนแฮตตัน และบรูคลิน จนกระทั่งสงครามได้สิ้นสุดลงในปี 1783 โดยชัยชนะเป็นของอดีตอาณานิคม

ภายหลังสงครามยุติลงได้มีการจัดประชุมและประกาศให้นิวยอร์กเป็นเมืองหลวง (จนถึงปี 1790) ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา (United States Constitution) จอร์จ วอชิงตัน ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาคนแรก และเข้าแถลงต่อสภาคองเกรสใน ปี 1789 รวมทั้งมีการร่างกฎบัตรว่าด้วยสิทธิของชาวอเมริกัน (United States Bill of Rights) ณ เฟดเดอรัลฮอล (Federal Hall) (ปัจจุบันคืออนุสรณ์สถานแห่งชาติ) ที่วอลล์สตรีท และถือเป็นการเริ่มต้นดินแดนใหม่ที่ถูกเรียกว่า "สหรัฐอเมริกา" ก่อนที่จะแผ่ขยายอาณาเขตของตนเองจาก 13 รัฐไปถึง 50 รัฐกับอีกหนึ่งเขตปกครองกลาง

ในปี 1898 ได้มีการยกระดับฐานะของนิวยอร์กโดยการรวมเอาบรูคลิน เคาน์ตี้ นิวยอร์ก (ซึ่งรวมถึงส่วนของเดอะบรองซ์ด้วย) เคานตี้ ริชมอนด์ และส่วนตะวันตกของเคาน์ตี้ ควีนส์ เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้เป็นนครนิวยอร์กมาถึงปัจจุบัน